สุนัขในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
จะแบ่งอยู่4ประเภท คือ สุนัขตรวจค้นทุ่นระเบิด
สุนัขลาดตระเวน สุนัขสะกดรอย และสุนัขตรวจค้นพัสดุภัณฑ์ระเบิด
เพื่อให้ครอบคลุมภารกิจทุกด้าน จึงต้องมีสุนัขครบทุกประเภทหน้าที่
ศูนย์ฝึกสุนัขทหาร
วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
สุนัขที่ได้รับการปลดประจำการแล้วไปไหน?
สุนัขที่ถูกปลดประจำการแล้วก็ไม่ได้ถูกทอดทิ้งให้อยู่ในกรงแคบๆ
ตามยถากรรมเหมือนอย่างที่หลายคนเข้าใจ
พวกเขายังคงได้รับการดูแลเอาใจใส่
ได้รับอาหารและน้ำจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเหมือนเดิม
สำหรับกรงที่พวกเขาอาศัยอยู่
ก็ยังเป็นกรงอันเดิมที่เคยอยู่มาตั้งแต่วันแรกที่เริ่มประจำการในตำแหน่งสุนัขยามของกองทัพเรือ
สร้างตามมาตรฐานสากล ซ้ำยังเป็นกรงที่มีขนาดโดยเฉลี่ยกว้างขวางกว่ากรงสุนัขที่เราเลี้ยงตามทั่วไปอีกด้วย
ตัวอย่างเรื่องราวที่น่าประทับใจ และภารกิจที่ยิ่งใหญ่ของสุนัขในกองพันสุนัขทหาร
เรื่องราวที่รู้สึกประทับใจและรู้สึกเป็นเกียรติมาก
ๆ ก็คือ ทางกองพันสุนัขทหารได้รับมอบหมายภารกิจจัดชุดครูฝึกสุนัขหลวงเพื่อดูแลสุนัขทรงเลี้ยงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประจำทุกปีส่วนอีกภารกิจที่ถือเป็นเกียรติแก่กองพันสุนัขทหารก็คือได้รับมอบหมายให้จัดกำลังพลและสุนัขทหารสนับสนุนกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค
4 ส่วนหน้า เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี
2547 จนถึงปัจจุบัน
วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
สุนัขที่จะเข้ามาอยู่ในกองพันสุนัขทหารจะต้องมีคุณสมบัติเด่นอะไรบ้าง
สิ่งแรกที่จะต้องมีเลยคือ "ความฉลาด" สุนัขจะต้องสามารถเข้าใจคำพูดมนุษย์และปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องไม่น้อยกว่า 100 คำ ซึ่งถ้าเทียบกับมนุษย์ก็จะเท่ากับเด็กอายุ 8 ขวบ ซึ่งเพียงพอในสื่อสารระหว่างทหารผู้ฝึกและสุนัขที่จะต้องทำงานร่วมกัน
คุณสมบัติที่สองคือ จะต้อง "มีประสาทสัมผัสพิเศษ" เมื่อเทียบกับมนุษย์แล้วประสาทสัมผัสดีกว่าหลายเท่า หู สามารถรับคลื่นเสียงดีกว่ามนุษย์ 6 เท่า ทำให้ได้รับฟังได้ดีกว่า 20 เท่า จมูกดีเป็นพิเศษสามารถแยกกลิ่นออกมากมายดีกว่ามนุษย์ 40 เท่า มองเห็นดีกว่า 10 เท่า ทำให้สามารถใช้ในการพิสูจน์ทราบได้รวดเร็วและแน่นอน
คุณสมบัติที่สามคือ ต้อง "มีความดุและความกล้า" ซึ่งสุนัขมีสัญชาตญาณในการต่อสู้อยู่แล้วเมื่อได้นำมาฝึกเพิ่มเติมจะมuคุณสมบัติในการต่อสู้เหมาะสมกับภารกิจที่ต้องปฏิบัติ
คุณสมบัติที่สี่คือ ต้อง "หวงอาณาเขตของตัวเอง" ซึ่งคุณสมบัติข้อนี้จะมีประโยชน์ในการฝึกให้สุนัขทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ได้ดีมาก
คุณสมบัติที่ห้าคือ จะต้อง "มีความซื่อสัตย์และจงรักภักดี" เพราะเมื่อสุนัขมีความจงรักภักดีต่อเจ้าของแล้วก็ย่อมที่จะหวงแหนและระวังป้องกันภัยผู้เป็นเจ้านาย
คุณสมบัติที่หกคือ จะต้อง "มีร่างกายที่แข็งแรงมาก ๆ" และต้องมีความอดทนสูง ต้องสามารถทนต่อสภาพภูมิประเทศและสภาพดินฟ้าอากาศได้ทุกรูแบบ เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาต่อการปฏิบัติภารกิจ
นอกจากนี้ก็ยังมีคุณสมบัติเกี่ยวกับสีขน ซึ่งถ้าสังเกตจะพบว่าสุนัขทหารทั้งหมดจะมีสีที่ค่อนข้างเข้มเพราะจะสามารถพรางตาในขณะภารกิจได้
กองพันสุนัขทหาร มีภารกิจอะไรที่ต้องรับผิดชอบบ้าง?
สำหรับภารกิจหลักของเหล่านักรบสายจูงผู้กล้านั้น โดยภารกิจหลักก็คือการสนับสนุนหน่วยทหารในการรบด้วยการลาดตระเวน สะกดรอย ค้นหาทุ่นระเบิดหรือกับระเบิด ตรวจค้นยาเสพติดให้โทษและเพิ่มขีดความสามารถให้กับหน่วยทหารในการรักษาความปลอดภัยในที่ตั้งทางทหารและคลังยุทโธปกรณ์ ในส่วนของภารกิจป้องกันชายแดน ทางกองพันสุนัขทหารจะจัดกำลังพล
และอีกหนึ่งภาระกิจสำคัญของเหล่านักรบสายจูงก็คือ ถวายความปลอดภัยและรักษาความปลอดภัย โดยจะมีชุดสุนัขรักษาความปลอดภัยสนับสนุนกองอำนวยการร่วมถวายความปลอดภัยวังไกลกังวล , ชุดสุนัขทหารสนับสนุนกองพันทหารราบที่๔ กรมทหารราบที่๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ , หมวดสุนัขรักษาความปลอดภัยกองบัญชาการกองทัพบก , หมวดสุนัขรักษาความปลอดภัยกองบัญชาการช่วยรบที่ ๒ และหมวดสุนัขสนับสนุนกองพันป้องกันฐานบิน ศูนย์การบินทหารบก ในส่วนของการรักษาความมั่นคงภายใน ก็จะมีกองร้อยสุนัขทหารอโณทัย หน่วยเฉพาะกิจอโณทัย ที่จะปฏบัติภารกิจในพื้นที่สีแดงบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ และภารกิจที่ประชาชนพบได้บ่อยก็คือ สุนัขทหารที่ทำหน้าที่เป็นชุดรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
จุดเริ่มต้นของ "กองพันสุนัขทหาร" เกิดขึ้นจากอะไร?
จุดเริ่มต้นของกองพันสุนัขทหารเกิดจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพิจารณาเห็นว่า การปฏิบัติการทางการทหารของหน่วยกำลังรบในการกวาดล้างกองกำลังผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ฝ่ายกองกำลังทหารของเรามักเกิดการสูญเสียเนื่องจากสงครามทุ่นระเบิด หรือจากการซุ่มโจมตีอยู่เสมอ ด้วยแนวคิดดังกล่าวจึงได้โปรดเกล้าให้ กรมสัตว์ทหารบก ได้จัดทำโครงการสุนัขสงครามขึ้น โดยเมื่อปี พ.ศ.2512 ได้ทรงพระราชทานสุนัขสงครามให้กับกรมการสัตว์ทหารบก จำนวน 15 ตัว และพัฒนาเป็นกองร้อยสุนัข
และต่อมา เมื่อปี พ.ศ.2538 กองทัพบกได้มีการพิจารณาให้มีการแปรสภาพเป็น กองพันสุนัขทหารขึ้น ซึ่งมีที่ตั้งหน่วยอยู่ที่ เลขที่ 300 หมู่ 4 ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
ทหาร กรมการสัตว์ทหารบก
วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558
สุนัขทหาร พวกเขาต้องทำอะไรบ้าง?
ขึ้นชื่อว่าเป็นสุนัขทหาร
แน่นอนว่าพวกเขาต้องได้รับการฝึกอย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกับทหาร โดยในช่วงเช้าเวลา
5.30 - 6.30 น.
สุนัขทหารที่อยู่ในการฝึกจะต้องวิ่งออกกำลังกายพร้อมกับทหารผู้ควบคุม
หลังจากนั้นในช่วง 9.00 - 12.00 น. จะเป็นช่วงเวลาของการฝึกทักษะต่าง
ๆ ตามหน้าที่ให้กับสุนัขทหาร ไม่ว่าจะเป็น การฝึกให้เชื่อฟังคำสั่งพื้นฐาน
การฝึกการควบคุมร่วมกับทหารผู้ควบคุม การฝึกเฉพาะหน้าที่
(ฝึกดมกลิ่นกาวัตถุแปลกปลอม , ฝึกระวังภัย , ฝึกลาดตระเวน
ฯลฯ)
ส่วนช่วงเวลาในการให้อาหารจะอยู่ในช่วง 15.00 - 16.00 น.
หลังจากนั้นก็จะปล่อยให้สุนัขพักผ่อน
จะทำอย่างนี้เป็นประจำทุกวันและเพิ่มศักยภาพในการฝึกฝนของสุนัขที่อยู่ในการฝึกขึ้นไปเรื่อย
ๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)