สุนัขในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
จะแบ่งอยู่4ประเภท คือ สุนัขตรวจค้นทุ่นระเบิด
สุนัขลาดตระเวน สุนัขสะกดรอย และสุนัขตรวจค้นพัสดุภัณฑ์ระเบิด
เพื่อให้ครอบคลุมภารกิจทุกด้าน จึงต้องมีสุนัขครบทุกประเภทหน้าที่
วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
สุนัขที่ได้รับการปลดประจำการแล้วไปไหน?
สุนัขที่ถูกปลดประจำการแล้วก็ไม่ได้ถูกทอดทิ้งให้อยู่ในกรงแคบๆ
ตามยถากรรมเหมือนอย่างที่หลายคนเข้าใจ
พวกเขายังคงได้รับการดูแลเอาใจใส่
ได้รับอาหารและน้ำจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเหมือนเดิม
สำหรับกรงที่พวกเขาอาศัยอยู่
ก็ยังเป็นกรงอันเดิมที่เคยอยู่มาตั้งแต่วันแรกที่เริ่มประจำการในตำแหน่งสุนัขยามของกองทัพเรือ
สร้างตามมาตรฐานสากล ซ้ำยังเป็นกรงที่มีขนาดโดยเฉลี่ยกว้างขวางกว่ากรงสุนัขที่เราเลี้ยงตามทั่วไปอีกด้วย
ตัวอย่างเรื่องราวที่น่าประทับใจ และภารกิจที่ยิ่งใหญ่ของสุนัขในกองพันสุนัขทหาร
เรื่องราวที่รู้สึกประทับใจและรู้สึกเป็นเกียรติมาก
ๆ ก็คือ ทางกองพันสุนัขทหารได้รับมอบหมายภารกิจจัดชุดครูฝึกสุนัขหลวงเพื่อดูแลสุนัขทรงเลี้ยงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประจำทุกปีส่วนอีกภารกิจที่ถือเป็นเกียรติแก่กองพันสุนัขทหารก็คือได้รับมอบหมายให้จัดกำลังพลและสุนัขทหารสนับสนุนกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค
4 ส่วนหน้า เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี
2547 จนถึงปัจจุบัน
วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
สุนัขที่จะเข้ามาอยู่ในกองพันสุนัขทหารจะต้องมีคุณสมบัติเด่นอะไรบ้าง
สิ่งแรกที่จะต้องมีเลยคือ "ความฉลาด" สุนัขจะต้องสามารถเข้าใจคำพูดมนุษย์และปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องไม่น้อยกว่า 100 คำ ซึ่งถ้าเทียบกับมนุษย์ก็จะเท่ากับเด็กอายุ 8 ขวบ ซึ่งเพียงพอในสื่อสารระหว่างทหารผู้ฝึกและสุนัขที่จะต้องทำงานร่วมกัน
คุณสมบัติที่สองคือ จะต้อง "มีประสาทสัมผัสพิเศษ" เมื่อเทียบกับมนุษย์แล้วประสาทสัมผัสดีกว่าหลายเท่า หู สามารถรับคลื่นเสียงดีกว่ามนุษย์ 6 เท่า ทำให้ได้รับฟังได้ดีกว่า 20 เท่า จมูกดีเป็นพิเศษสามารถแยกกลิ่นออกมากมายดีกว่ามนุษย์ 40 เท่า มองเห็นดีกว่า 10 เท่า ทำให้สามารถใช้ในการพิสูจน์ทราบได้รวดเร็วและแน่นอน
คุณสมบัติที่สามคือ ต้อง "มีความดุและความกล้า" ซึ่งสุนัขมีสัญชาตญาณในการต่อสู้อยู่แล้วเมื่อได้นำมาฝึกเพิ่มเติมจะมuคุณสมบัติในการต่อสู้เหมาะสมกับภารกิจที่ต้องปฏิบัติ
คุณสมบัติที่สี่คือ ต้อง "หวงอาณาเขตของตัวเอง" ซึ่งคุณสมบัติข้อนี้จะมีประโยชน์ในการฝึกให้สุนัขทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ได้ดีมาก
คุณสมบัติที่ห้าคือ จะต้อง "มีความซื่อสัตย์และจงรักภักดี" เพราะเมื่อสุนัขมีความจงรักภักดีต่อเจ้าของแล้วก็ย่อมที่จะหวงแหนและระวังป้องกันภัยผู้เป็นเจ้านาย
คุณสมบัติที่หกคือ จะต้อง "มีร่างกายที่แข็งแรงมาก ๆ" และต้องมีความอดทนสูง ต้องสามารถทนต่อสภาพภูมิประเทศและสภาพดินฟ้าอากาศได้ทุกรูแบบ เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาต่อการปฏิบัติภารกิจ
นอกจากนี้ก็ยังมีคุณสมบัติเกี่ยวกับสีขน ซึ่งถ้าสังเกตจะพบว่าสุนัขทหารทั้งหมดจะมีสีที่ค่อนข้างเข้มเพราะจะสามารถพรางตาในขณะภารกิจได้
กองพันสุนัขทหาร มีภารกิจอะไรที่ต้องรับผิดชอบบ้าง?
สำหรับภารกิจหลักของเหล่านักรบสายจูงผู้กล้านั้น โดยภารกิจหลักก็คือการสนับสนุนหน่วยทหารในการรบด้วยการลาดตระเวน สะกดรอย ค้นหาทุ่นระเบิดหรือกับระเบิด ตรวจค้นยาเสพติดให้โทษและเพิ่มขีดความสามารถให้กับหน่วยทหารในการรักษาความปลอดภัยในที่ตั้งทางทหารและคลังยุทโธปกรณ์ ในส่วนของภารกิจป้องกันชายแดน ทางกองพันสุนัขทหารจะจัดกำลังพล
และอีกหนึ่งภาระกิจสำคัญของเหล่านักรบสายจูงก็คือ ถวายความปลอดภัยและรักษาความปลอดภัย โดยจะมีชุดสุนัขรักษาความปลอดภัยสนับสนุนกองอำนวยการร่วมถวายความปลอดภัยวังไกลกังวล , ชุดสุนัขทหารสนับสนุนกองพันทหารราบที่๔ กรมทหารราบที่๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ , หมวดสุนัขรักษาความปลอดภัยกองบัญชาการกองทัพบก , หมวดสุนัขรักษาความปลอดภัยกองบัญชาการช่วยรบที่ ๒ และหมวดสุนัขสนับสนุนกองพันป้องกันฐานบิน ศูนย์การบินทหารบก ในส่วนของการรักษาความมั่นคงภายใน ก็จะมีกองร้อยสุนัขทหารอโณทัย หน่วยเฉพาะกิจอโณทัย ที่จะปฏบัติภารกิจในพื้นที่สีแดงบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ และภารกิจที่ประชาชนพบได้บ่อยก็คือ สุนัขทหารที่ทำหน้าที่เป็นชุดรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
จุดเริ่มต้นของ "กองพันสุนัขทหาร" เกิดขึ้นจากอะไร?
จุดเริ่มต้นของกองพันสุนัขทหารเกิดจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพิจารณาเห็นว่า การปฏิบัติการทางการทหารของหน่วยกำลังรบในการกวาดล้างกองกำลังผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ฝ่ายกองกำลังทหารของเรามักเกิดการสูญเสียเนื่องจากสงครามทุ่นระเบิด หรือจากการซุ่มโจมตีอยู่เสมอ ด้วยแนวคิดดังกล่าวจึงได้โปรดเกล้าให้ กรมสัตว์ทหารบก ได้จัดทำโครงการสุนัขสงครามขึ้น โดยเมื่อปี พ.ศ.2512 ได้ทรงพระราชทานสุนัขสงครามให้กับกรมการสัตว์ทหารบก จำนวน 15 ตัว และพัฒนาเป็นกองร้อยสุนัข
และต่อมา เมื่อปี พ.ศ.2538 กองทัพบกได้มีการพิจารณาให้มีการแปรสภาพเป็น กองพันสุนัขทหารขึ้น ซึ่งมีที่ตั้งหน่วยอยู่ที่ เลขที่ 300 หมู่ 4 ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
ทหาร กรมการสัตว์ทหารบก
วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558
สุนัขทหาร พวกเขาต้องทำอะไรบ้าง?
ขึ้นชื่อว่าเป็นสุนัขทหาร
แน่นอนว่าพวกเขาต้องได้รับการฝึกอย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกับทหาร โดยในช่วงเช้าเวลา
5.30 - 6.30 น.
สุนัขทหารที่อยู่ในการฝึกจะต้องวิ่งออกกำลังกายพร้อมกับทหารผู้ควบคุม
หลังจากนั้นในช่วง 9.00 - 12.00 น. จะเป็นช่วงเวลาของการฝึกทักษะต่าง
ๆ ตามหน้าที่ให้กับสุนัขทหาร ไม่ว่าจะเป็น การฝึกให้เชื่อฟังคำสั่งพื้นฐาน
การฝึกการควบคุมร่วมกับทหารผู้ควบคุม การฝึกเฉพาะหน้าที่
(ฝึกดมกลิ่นกาวัตถุแปลกปลอม , ฝึกระวังภัย , ฝึกลาดตระเวน
ฯลฯ)
ส่วนช่วงเวลาในการให้อาหารจะอยู่ในช่วง 15.00 - 16.00 น.
หลังจากนั้นก็จะปล่อยให้สุนัขพักผ่อน
จะทำอย่างนี้เป็นประจำทุกวันและเพิ่มศักยภาพในการฝึกฝนของสุนัขที่อยู่ในการฝึกขึ้นไปเรื่อย
ๆ
สุนัขพันธุ์เล็ก
สำหรับสุนัขพันธุ์เล็กที่นิยมนำมาฝึก ได้แก่
พุดเดิ้ล
พูเดิ้ลที่มีสายพันธุ์ดีจะเป็นสุนัขที่ฉลาดและตอบสนองไวที่สุดในบรรดาสุนัข
ทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ขนาดใด
ทุกคนจะรู้ถึงความเฉลียวฉลาดของ พูเดิ้ล
เป็นอย่างดีพวกเขาดูมีชีวิตชีวาและเต็มไปด้วยมิตรภาพและเป็นผู้คุ้มกันที่ยอดเยี่ยม
บีเกิ้ล
เกิลเป็นสุนัขที่เป็นมิตร ร่าเริง ไม่ขี้อาย
ไม่ขี้กลัว และไม่ก้าวร้าว ต่อคนหรือสัตว์อื่นๆ ด้วยขนาดที่กระทัดรัด
และด้วยที่เค้าชอบคน บีเกิลจึงเป็นสุนัขที่เข้ากับเด็กๆได้ดี
บีเกิ้ลสามารถปรับตัวเข้ากับคนได้เป็นอย่างดี
ชิวาวา
ชิวาวาเป็นสุนัขมีความฉลาดและจงรักภักดีต่อเจ้าของมา
กเมื่อเทียบกับสุนัขพันธุ์อื่นๆ
โดยปกติมักเป็นสุนัขที่เงียบสงบไม่ค่อยเห่าส่งเสียงร บกวน
เว้นแต่จะถูกรบกวนหรือทำตกใจจึงจะเห่าเพื่อรักษาที่อ ยู่อาศัยของตัวเอง
นอกจากนี้ยังมีนิสัยกล้าหาญมักจะยืนหยัดต่อสู้กับสุนัขตัวอื่นๆ
ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กกว่า แต่ก็มีอัธยาศัยที่ดีกับสุนัขตัวอื่นหรือสัตว์เลี้ยง
ชนิดอื่นๆ
แนะนำสายพันธ์สุนัขที่นิยมนำมาฝึกเพื่อเป็นสุนัขทหาร
อย่างที่ทราบกันดี
สุนัขนั้นมีสายพันธ์ต่างๆมากมายที่หลายหลาย
แต่สุนัขที่นิยมนำมาเข้ารับการฝึกเพื่อเป็นสุนัขทหารนั้นที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้จะมีสายพันธ์ที่เด่นๆได้แก่
1.เยอรมันเชพเพิร์ด
เยอรมันเช็พเพอดมีบุคลิกที่เด่นชัดคือ
มีการแสดงออกถึงความไม่หวาดหวั่นแต่ก็ไม่ก้าวร้าว มีความเชื่อมั่นในตนเอง
มีความกระตือรือร้นและตื่นตัวกระฉับกระเฉง
เต็มใจจะรับใช้เต็มที่ในลักษณะของการเป็นเพื่อน เป็นสุนัขเฝ้าบ้านนำทางผู้ที่อยู่ในโลกมืด
เป็นสุนัขต้อนฝูงสัตว์ หรือทำหน้าที่อารักขา
สุนัขจะไม่ขี้ขลาดหรือหลบอยู่หลังผู้เป็นเจ้านาย ไม่ควรจะอ่อนไหว ไม่มองไปรอบๆ
หรือแหงนหน้ามอง ไม่แสดงอาการตื่นตระหนก
โดยจะหางตกเมื่อได้ยินเสียงหรือมองเห็นสิ่งแปลกๆ
หากสันขมีอุปนิสัยดังกล่าวข้างต้นจะถูกตัดสินว่ามีความบกพร่องอย่างร้ายแรง
สุนัขจะต้องยอมให้กรรมการตรวจฟันและลูกอัณฑะ
ถ้าหากสุนัขกัดกรรมการจะต้องถูกไล่ออกจากสนามประกวด
สุนัขที่อยู่ในอุดมคติควรที่จะสามารถใช้งานในลักษณะที่ไม่หยิบโหย่ง
ผสมผสานกับลำตัวและการก้าวย่างที่เหมาะกับงานการที่ทำ
ซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน
2.โดเบอร์แมน
โดยทั่วไปแล้วธรรมชาติของ โดเบอร์แมน
เป็นสุนัขที่ไว้ใจได้และเป็นเพื่อนที่ภักดีกับเจ้าของ นิสัยสุภาพ
แต่แข็งแรงและอึดเท่าที่คุณใส่ใจฝึกฝนเขาเป็นเพื่อนเล่นที่ดีกับเด็กใน"ครอบครัว"
เท่านั้น เขาจะชอบร่วมกิจกรรมต่างๆของครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นที่โต๊ะอาหารหรือจะขึ้นไปนอนบนเตียงด้วยความจริงแล้วเขาอาจลืมไปนึกว่าตัวเองก็เป็นคนด้วย
แม้จะรักและเชื่อฟังเจ้าของโดเบอร์แมน
ก็สามารถวางปึ่งทำเหมือนไม่สนใจเราได้เช่นกันอย่างไรก็ตามในภาวะปรกติแล้วไม่ควรแสดงอาการฉุนเฉียวหรือก้าวร้าวแต่ถ้ามีอาการเหล่านี้ก็ไม่น่าไว้ใจและอาจแสดงนิสัยที่ไม่ดีเหล่านี้เวลาเครียดได้
3.ลาบราดอร์
รีทรีฟเวอร์
สุนัขพันธุ์ ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์
เป็นสุนัขที่ฉลาดหลักแหลม กระตือรือร้น รักสนุก
ช่างเอาอกเอาใจเป็นสายพันธุ์ที่เหมาะกับครอบครัวที่มีเด็กประกอบกับการที่เป็นสุนัขเฝ้ายามที่ดีเนื่องจากมีเสียงเห่าทุ้มและ
หนักแน่น เป็นที่น่าเกรงขามเพื่อเตือนเมื่อมีผู้บุกรุก สามารถฝึกความสามารถพิเศษอื่นๆ
ได้มากมาย เช่น ใช้เป็นสุนัขค้นหาผู้ประสบภัย ค้นหายาเสพติด ฯลฯ
ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ง่าย
4.ร็อตไวเลอร์
ร็อตไวเลอร์เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนเพื่อดูแลความปลอดภัย
และเป็นสุนัขใช้งานที่มีความมั่นใจ หนักแน่น และปราศจากความกลัวแต่ ต้องสอนให้
ร็อตไวเลอร์รู้สถานะของตัวเขาในครอบครัวปกติจะอดกลั้นกับเด็ก
ได้ดีแต่พ่อแม่จำเป็นต้องแน่ใจว่าสอนให้ลูกๆ ปฏิบัติกับสุนัขอย่างเหมาะสมเช่นกัน
และอยู่ด้วยทุกครั้งที่มีการฝึกสอนสุนัข
วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558
ศูนย์ฝึกสุนัขทหาร
สวัสดีค่ะ
สำหรับบทความนี้ ดิฉันจะพามาเยี่ยมชมและให้ข้อมูลคร่าวๆเกี่ยวกับ 'สนามฝึกสุนัขกองพันปฏิบัติการพิเศษ3หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน' ศูนย์ฝึกสุนัขที่น่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกให้ผู้คนที่สนใจอยากจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุนัขของพวกคุณ
สำหรับศูนย์ฝึกนี้ตั้งอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยรังสิตสามารถเดินทางได้สะดวกและวันนี้ดิฉันได้รับเกียรติจาก ร.ต.สุชีพ ศรีสวัสดิ์ (ครูชีพ)
หนึ่งในครูฝึกสุนัขของที่นี่ จะมาให้ข้อมูลพร้อมกับคำแนะนำเกี่ยวกับการฝึกสุนัข พร้อมทั้งสาธิตท่าเบื้องต้นต่างๆให้เราได้รู้อีกด้วย
1.คำสั่ง 'นั่ง' คือการจับสุขนัขมาอยู่ทางด้านซ้ายมือให้ชิดตัวและยกมือในลักษณะคว่ำมือแล้วสั่งว่า "นั่ง" ในช่วงแรกสุนัขอาจจะยังไม่เข้าใจ จึงจะต้องมีการกดสะโพกสุนัขลงพร้อมย้ำคำสั่งและทำท่าทางที่กล่าวไปข้างต้น เมื่อสุนัขเกิดความเคยชินเราจึงสามารถสั่งโดยใช้ภาษามือได้
2.คำสั่ง 'สวัสดี' คือการให้สุนัขยกขาด้านหน้าขึ้นสองข้าง ในตอนแรกจะต้องมีการจับขาหน้าสุนัขให้ยกขึ้นมาพร้อมย้ำคำว่า "สวัสดี" พร้อมทั้งให้รางวัล เพื่อเป็นการโน้มน้าวจิตใจของสุนัขให้ทำตามคำสั่งโดยนำสิ่งของมาหลอกหล่อ
3.คำสั่ง 'การเดินบนพื้นต่างระดับ' เป็นการฝึกในกรณีที่ทางบ้านที่สุนัขอาศัยมีพื้นต่างระดับ เช่น บันได สุนัขบางตัวเกิดอาการไม่กล้าที่จะขึ้นหรือลงเป็นปัญหากับทางเจ้าของสุนัข การฝึกแบบนี้จะสามารถลดความกลัวให้กับสุนัขได้และไม่เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้น
4.คำสั่ง 'คอย' คือคำสั่งพื้นฐานสำหรับเจ้าของที่ชอบนำสุนัขไปตามสถานที่ต่างๆ การฝึกแบบนี้เป็นการฝึกความอดทนให้สุนัขมีความนิ่งขึ้นและคุ้นชินกับสายจูง โดยการนำสุนัขไปผูกไว้กับหลักพร้อมย้ำคำสั่งว่า "คอย" แล้วปล่อยสุนัขไว้สักพักเพื่อดูพฤติกรรม การฝึกเช่นนี้จะช่วยลดปัญหาการฉุดหรือกระชากเจ้าของเวลาต้องนำสุนัขออกไปตามสถานที่ต่างๆ
และนอกจากนี้เรายังได้รับเกียรติจาก ร.ต.จิตต์ นกแก้ว (ครูจิตต์)
ครูฝึกอีกหนึ่งคนของศูนย์ฝึกนี้มาให้คำแนะนำเราเกี่ยวกับการเตรียมตัวสุนัขในเบื้องต้นก่อนนำมาฝึก รวมทั้งตอบข้อสงสัยและให้ความสบายใจแก่เจ้าของสุนัขที่นำสุนัขมาฝึกที่นี่ให้ได้ทราบถึงวิธีการดูแลสุนัขระหว่างการที่นำมาเข้ารับการฝึกที่นี่อีกด้วย
สุนัขที่ผ่านการฝึกจะสามารถอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ได้อย่างดียิ่งขึ้นและมีการสื่อสารกับเจ้าของได้อย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
แต่ถ้าจะมีแต่การบรรยายอย่างเดียวคงไม่พอ เราไปดูคลิปเต็มๆ ที่ครูชีพและครูจิตต์พูดถึงสนามฝึกแห่งนี้พร้อมทั้งให้คำแนะนำต่างๆอย่างคร่าวๆ รวมถึงแสดงวิธีการฝึกเบื้องต้นให้พวกเราได้ดู ไปชมคลิปตามด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ...
สำหรับเจ้าของน้องหมามือใหม่หรือเจ้าของน้องหมาทั่วไปที่อยากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้น้องหมาของท่านสามารถทำตามคำสั่งได้ สามารถสื่อสารกันได้มากยิ่งขึ้นสามารถนำสุนัขมาฝึกหรือขอคำแนะนำในการเลี้ยงได้ที่
ที่อยู่ กองร้อยสุนัข ถ.เดชะตุงคะ แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กทม.10210
Instagram : loveme_lovemydog
Tel : 0819332704 (ครูชีพ)
หลักการและเหตุผล
สำหรับศูนย์ฝึกนี้ตั้งอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยรังสิตสามารถเดินทางได้สะดวกและวันนี้ดิฉันได้รับเกียรติจาก ร.ต.สุชีพ ศรีสวัสดิ์ (ครูชีพ)
หนึ่งในครูฝึกสุนัขของที่นี่ จะมาให้ข้อมูลพร้อมกับคำแนะนำเกี่ยวกับการฝึกสุนัข พร้อมทั้งสาธิตท่าเบื้องต้นต่างๆให้เราได้รู้อีกด้วย
1.คำสั่ง 'นั่ง' คือการจับสุขนัขมาอยู่ทางด้านซ้ายมือให้ชิดตัวและยกมือในลักษณะคว่ำมือแล้วสั่งว่า "นั่ง" ในช่วงแรกสุนัขอาจจะยังไม่เข้าใจ จึงจะต้องมีการกดสะโพกสุนัขลงพร้อมย้ำคำสั่งและทำท่าทางที่กล่าวไปข้างต้น เมื่อสุนัขเกิดความเคยชินเราจึงสามารถสั่งโดยใช้ภาษามือได้
2.คำสั่ง 'สวัสดี' คือการให้สุนัขยกขาด้านหน้าขึ้นสองข้าง ในตอนแรกจะต้องมีการจับขาหน้าสุนัขให้ยกขึ้นมาพร้อมย้ำคำว่า "สวัสดี" พร้อมทั้งให้รางวัล เพื่อเป็นการโน้มน้าวจิตใจของสุนัขให้ทำตามคำสั่งโดยนำสิ่งของมาหลอกหล่อ
3.คำสั่ง 'การเดินบนพื้นต่างระดับ' เป็นการฝึกในกรณีที่ทางบ้านที่สุนัขอาศัยมีพื้นต่างระดับ เช่น บันได สุนัขบางตัวเกิดอาการไม่กล้าที่จะขึ้นหรือลงเป็นปัญหากับทางเจ้าของสุนัข การฝึกแบบนี้จะสามารถลดความกลัวให้กับสุนัขได้และไม่เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้น
และนอกจากนี้เรายังได้รับเกียรติจาก ร.ต.จิตต์ นกแก้ว (ครูจิตต์)
ครูฝึกอีกหนึ่งคนของศูนย์ฝึกนี้มาให้คำแนะนำเราเกี่ยวกับการเตรียมตัวสุนัขในเบื้องต้นก่อนนำมาฝึก รวมทั้งตอบข้อสงสัยและให้ความสบายใจแก่เจ้าของสุนัขที่นำสุนัขมาฝึกที่นี่ให้ได้ทราบถึงวิธีการดูแลสุนัขระหว่างการที่นำมาเข้ารับการฝึกที่นี่อีกด้วย
สุนัขที่ผ่านการฝึกจะสามารถอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ได้อย่างดียิ่งขึ้นและมีการสื่อสารกับเจ้าของได้อย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
แต่ถ้าจะมีแต่การบรรยายอย่างเดียวคงไม่พอ เราไปดูคลิปเต็มๆ ที่ครูชีพและครูจิตต์พูดถึงสนามฝึกแห่งนี้พร้อมทั้งให้คำแนะนำต่างๆอย่างคร่าวๆ รวมถึงแสดงวิธีการฝึกเบื้องต้นให้พวกเราได้ดู ไปชมคลิปตามด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ...
หลักการและเหตุผล
สุนัขเปรียบเสมือนเด็กเล็กๆ
ที่ต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆจากกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ เช่น การขับถ่าย
การจัดสรรเวลาในการกิน โดยอาศัยมนุษย์เป็นผู้ฝึก
แต่หากต้องการให้ได้ความมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จึงจำเป็นจะต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์มาช่วยในด้านนี้ เช่น ทหาร
สิ่งสำคัญคือในสุนัขเองจะต้องให้ความร่วมมือและเต็มใจเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตของมนุษย์ด้วย
เพื่อเป็นสุนัขที่ดีไม่สร้างความเดือดร้อนและอยู่ร่วมกับมนุษย์ในสังคมได้อย่างปกติสุข
วัตถุประสงค์
•เพื่อลดช่องว่างทางการสื่อสารระหว่างคนกับสุนัข
•เพื่อสุนัขที่ถูกฝึกจะสามารถอยู่ร่วมกับมนุษย์ในสังคมทั่วไปได้อย่างสงบ
และไม่สร้างความเดือดร้อน
•เพื่อสร้างประโยชน์แก่สังคม
เช่น สุนัขตำรวจ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)